ลบล้างสภาพแม่เหล็ก (Demagnetization) เนื่องจากผลกระทบของสนามแม่เหล็กภายนอก
ในหน่วย CGS นั้น ความแรงที่ทำให้มีสภาวะเป็นแม่เหล็กของตัวแม่เหล็กเองจะมีค่าเป็น 4πI ดังนั้น ความหนาแน่นของสนามแม่เหล็กโดยดูจากข้างบนจะเท่ากับ B = 4πI-H ถ้าไม่รวมผลกระทบของสนามแม่เหล็กจากภายนอก จะสามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความแรงที่ทำให้มีสภาวะเป็นแม่เหล็กของตัวแม่เหล็กเองและสนามแม่เหล็กจากภายนอกด้วยเส้นโค้ง 4πI-H สำหรับสภาพบังคับ BHc ตามเส้นโค้ง B-H นั้น ความหนาแน่นของสนามแม่เหล็กซึ่งค่าความหนาแน่นของฟลักซ์แม่เหล็กของแม่เหล็กด้านบนที่มองเห็นเป็น 0 เราเรียกความหนาแน่นของสนามแม่เหล็กซึ่งความแรงที่ทำให้มีสภาวะเป็นแม่เหล็กของตัวแม่เหล็กเอง 4πI เป็น 0 ว่า iHc ดังนั้น ถ้าเพิ่มสนามแม่เหล็กจากภายนอกซึ่งมีขนาดใหญ่เท่ากับ iHc จากนั้นกำจัดสนามแม่เหล็กนั้นออก ความหนาแนนของฟลักซแมเหล็กคงคางในแม่เหล็กจะเป็น 0 ทั้งหมด ซึ่งเราจะเรียก iHc ว่าสภาพบังคับ (Coercivity) ที่แท้จริง
ความแรงที่ทำให้มีสภาวะเป็นแม่เหล็กในขณะที่สนามแม่เหล็กซึ่งผลักดันพลังแม่เหล็ก-H1 ทำงาน จุด C ตามแกน H จะเริ่มทำงาน ส่วนเส้นที่ลากขนานกับส่วนของเส้น BO ซึ่งเชื่อมระหว่างจุด B กับจุดตั้งต้น 0 จะเริ่มตัดกับเส้นโค้ง J-H ที่จุดตัด S จากนั้นจะเลื่อนเส้นตั้งฉากลงไปจากจุดตัด S ไปยังเส้นโค้ง B-H แล้วหาค่าจุดตัด K (จุดทำงานในขณะที่ได้รับผลกระทบจากสนามแม่เหล็กที่ผลักดันพลังแม่เหล็ก-H1) จากนั้นตำแหน่งของจุดทำงานในขณะที่กำจัดสนามแม่เหล็กที่ผลักดันพลังแม่เหล็ก-H ซึ่งเพิ่มเข้ามา จะแสดงด้วยจุดตัด A' ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างเส้นคอยล์ที่ลากจากจุด k กับเส้นแสดงค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่าน (Permeance) P2 ความหนาแน่นของฟลักซ์แม่เหล็กในขณะนี้จะเป็น Bd1 กล่าวคือ จะเกิดค่าความแตกต่าง BdO-Bd1 ระหว่างสนามแม่เหล็กที่ผลักดันพลังแม่เหล็กความหนาแน่นของฟลักซ์แม่เหล็กในช่วงแรกก่อนเพิ่มสนามแม่เหล็กที่ผลักดันพลังแม่เหล็กBdO กับ Bd1 ซึ่งค่านี้เป็นค่าการลบล้างสภาพแม่เหล็กจากสนามแม่เหล็กที่ผลักดันพลังแม่เหล็ก-H1