Home > ความรู้พื้นฐาน > รวมคำศัพท์ที่ใช้กับผลิตภัณฑ์แม่เหล็ก SIMOTEC
ความรู้พื้นฐาน

รวมคำศัพท์ที่ใช้กับผลิตภัณฑ์แม่เหล็ก SIMOTEC

คำศัพท์ สัญลักษณ์ หน่วย คำอธิบาย
แม่เหล็กนีโอไดเมียม
(Neodymium Magnet)
Nd-Fe-B - แม่เหล็กที่มีส่วนประกอบของแร่ธาตุที่หายาก (Rare earth) แม่เหล็กถาวรที่มีแรงดูดสูงสุด มีส่วนประกอบหลักระหว่างนีโอไดเนียม (Nd) เหล็ก (Fe) และโบรอน (B) ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่หายาก มีคุณสมบัติที่ขึ้นอยู่กับทิศทาง เป็นสนิมได้ง่าย จึงจำเป็นต้องจัดการป้องกันสนิม ในปัจจุบัน แม่เหล็กปลอด Dy ได้พบบ้างแล้วในตลาด (Dy : ดิสโพเซียม, Dysprosium)
แม่เหล็กซามาเรียมโคบอลต์
(Samarium Cobalt Magnet)
Sm-Co - แม่เหล็กที่มีส่วนประกอบของแร่ธาตุที่หายาก (Rare earth) เป็นแม่เหล็กถาวรที่มีองค์ประกอบของโลหะระหว่างซามาเรียม (Sm) และโคบอลต์ (Co) ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่หายาก มีคุณสมบัติที่ขึ้นอยู่กับทิศทาง เป็นสนิมได้ยาก ไม่จำเป็นต้องจัดการป้องกันสนิมเมื่อใช้งานตามปกติ มีคุณสมบัติเฉพาะด้านอุณหภูมิที่เยี่ยมยอด
แม่เหล็กเฟอร์ไรท์ BaO-6Fe2O3
SrO-6Fe2O3
- แม่เหล็กที่นำมาใช้แพร่หลายที่สุด มีการใช้งานแบบเอนกประสงค์ มีวัสดุหลักเป็นเหล็กออกไซด์ มีราคาถูก และมีคุณสมบัติพิเศษ คือคุณสมบัติพิเศษเฉพาะทางแม่เหล็กที่มีเสถียรภาพ และไม่เป็นสนิม ฯลฯ ประเภทแบเรียม (Ba) มีคุณสมบัติที่ไม่ขึ้นอยู่กับทิศทาง ส่วนประเภทสตรอนเทียม (Sr) มีคุณสมบัติที่ขึ้นอยู่กับทิศทาง
แม่เหล็กแบบเผาผนึก
(Sintered Magnet)
- - แม่เหล็กที่ทำให้วัสดุแม่เหล็กจนเป็นผง ขึ้นรูปโดยแม่พิมพ์ แล้วเผาผนึกที่อุณหภูมิสูง มีแบบที่เป็นแม่เหล็กเฟอร์ไรท์ แม่เหล็กซามาเรียมโคบอลต์ แม่เหล็กนีโอไดเมียม ฯลฯ เหมาะสำหรับรูปทรงมาตรฐานได้แก่ ทรงกระบอก ทรงเหลี่ยม เป็นต้น
แม่เหล็กแบบบอนด์
(Bonded Magnet)
- - เป็นแม่เหล็กที่ขึ้นรูปโดยผสมผงที่มีสภาพเป็นแม่เหล็กเข้าไปยังหรือพลาสติก ฯลฯ ผ่านทางแม่พิมพ์และดึงขึ้นรูป ฯลฯ เหมาะสำหรับรูปทรงที่ซับซ้อนกว่า แต่เมื่อเทียบกับแม่เหล็กแบบเผาผนึกแล้ว มีปริมาณส่วนที่เป็นแม่เหล็กต่อปริมาตรน้อยกว่า ดังนั้นแรงดึงดูดจึงน้อยกว่า
คุณสมบัติที่ไม่ขึ้น
อยู่กับทิศทาง (Isotropy)
- - ชื่อเรียกโดยรวมของแม่เหล็กซึ่งไม่มีทิศทางพิเศษเฉพาะ นำผงที่มีสภาพแม่เหล็กผสมกับวัสดุพื้นฐานแล้วขึ้นรูปโดยแม่เหล็กแบบบอนด์ ฯลฯ มีทิศทางที่ง่ายต่อการเป็นแม่เหล็ก (ทิศทางที่เป็นแม่เหล็กได้ง่ายในโครงสร้างผลึกของวัสดุ) จะกระจัดกระจายตัว เราเรียกแม่เหล็กลักษณะนี้ว่ามีคุณสมบัติที่ไม่ขึ้นอยู่กับทิศทางแม่เหล็ก ส่วนคุณสมบัติที่ไม่ขึ้นอยู่กับทิศทางแม่เหล็กนั้นจะมีสภาพแม่เหล็กเท่าๆ กันในทุกทิศทาง
คุณสมบัติที่ขึ้นอยู่กับทิศทาง - - ชื่อเรียกโดยรวมของแม่เหล็กซึ่งมีทิศทางพิเศษเฉพาะ หมายถึงแม่เหล็กซึ่งมีทิศทางที่กำหนดโดยแนวที่ผงที่มีสภาพแม่เหล็กง่ายต่อการเป็นแม่เหล็กในกระบวนการขึ้นรูปว่ามีคุณสมบัติที่ขึ้นอยู่กับทิศทางแม่เหล็ก คุณสมบัติที่ขึ้นอยู่กับทิศทางแม่เหล็กคือสภาพแม่เหล็กในทิศทางแนวที่ง่ายต่อการเป็นแม่เหล็ก มีแรงดูดที่แรงกว่า วิธีทำให้มีสภาพแม่เหล็กในทิศทางแนวที่ง่ายต่อการเป็นแม่เหล็ก เป็นตัวอย่างของวิธีการขึ้นรูปในสนามแม่เหล็ก นอกจากนี้ยังมีวิธีเพิ่มแรงดันแบบเชิงกล ฯลฯ
การเรียงตัว - - คำศัพท์ในกระบวนการผลิตแม่เหล็ก ถ้านำผงวัสดุมาขึ้นรูปแบบอัดในเครื่องขึ้นรูปแบบสร้างสนามแม่เหล็ก จะมีประสิทธิผลทำให้โครงสร้างผลึกมีทิศทางเป็นแม่เหล็กได้ง่ายตามทิศทางเดียวกับสนามแม่เหล็กของเครื่องขึ้นรูป เราเรียกการมีทิศทางของสนามแม่เหล็กซึ่งทำให้โครงสร้างผลึกมีทิศทางเป็นแม่เหล็กได้ง่ายว่า การเรียงตัวตามสนามแม่เหล็ก และเราเรียกวิธีการขึ้นรูปนี้ว่าเป็นการขึ้นรูปแบบสนามแม่เหล็กหรือการขึ้นรูปในสนามแม่เหล็ก แม่เหล็กที่ผ่านกระบวนการนี้แล้วผ่านการเผาผนึกจะมี่มีคุณสมบัติที่ขึ้นอยู่กับทิศทางแม่เหล็ก
สนามแม่เหล็ก H A/m(Oe) สนามเวคเตอร์ (Vector field) ซึ่งมีแรงบริเวณรอบของแม่เหล็กและกระแสไฟฟ้า หน่วยความแรงของสนามแม่เหล็ก H ใช้หน่วย SI เป็นแอมแปร์ต่อเมตร [A/m], ใช้หน่วย cgs เป็นเออร์สเตด [Oe]
การทำให้เป็นแม่เหล็ก - - วัตถุมีสภาพเป็นแม่เหล็กด้วยอิทธิพลของสนามแม่เหล็กหรือแม่เหล็ก เราเรียการทำให้วัสดุแม่เหล็กให้เป็นแม่เหล็กว่าการทำให้เป็นแม่เหล็ก
การสลายแม่เหล็ก,
การทำลายสภาพแม่เหล็ก
- - เราเรียกการดึงสภาพความเป็นแม่เหล็กของวัสดุที่ถูกทำให้เป็นแม่เหล็กให้หมดไปว่าการสลายแม่เหล็กหรือการทำลายสภาพแม่เหล็ก หลักการ คือ วางวัตถุที่ต้องการสลายแม่เหล็กไว้ในสนามแม่เหล็กกระแสสลับ แล้วจึงค่อยๆ ลดขนาดของสนามแม่เหล็กกระแสสลับนี้ให้เล็กลง จะทำให้สภาพความเป็นแม่เหล็กลดลงตามไปด้วย
วัสดุแม่เหล็ก - - เราเรียกวัตถุที่ทำให้เป็นแม่เหล็กโดยอิทธิพลของสนามแม่เหล็กหรือแม่เหล็กว่า วัสดุแม่เหล็ก ประกอบด้วย วัสดุซึ่งทำให้เป็นแม่เหล็กได้แรงกว่าซึ่งเรียกว่า วัสดุเฟอโรแมคเนติค (Ferromagnetic Material) และวัสดุที่เป็นแม่เหล็กถาวร ได้แก่ เหล็กและแร่แมคเนไทท์ (Magnetite) ฯลฯ เราเรียกวัสดุที่ไม่สามารถทำเป็นแม่เหล็กได้ว่า วัสดุที่ไม่เป็นแม่เหล็ก ตัวอย่างเช่น กระดาษและพลาสติก ส่วนโลหะได้แก่ ทองคำ เงิน ทองแดง อะลูมิเนียม แมกนีเซียม เป็นต้น
เส้นแรงแม่เหล็ก
/ ฟลักซ์แม่เหล็ก
- - เราเรียกเส้นจินตภาพซึ่งแสดงส่วนประกอบทิศทางของสนามแม่เหล็กว่าเป็นเส้นแรงแม่เหล็ก เส้นแม่เหล็ก แสดงโดยออกมาจากขั้ว N ย้อนไปยังขั้ว S ไม่มีการไขว้กัน เราเรียกกลุ่มเส้นแรงแม่เหล็กว่า ฟลักซ์แม่เหล็ก
ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก
(Magnetic flux density)
B T(G) เราเรียกฟลักซ์แม่เหล็กต่อพื้นที่หนึ่งหน่วยว่าความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก แสดงแรงแม่เหล็กที่จุดๆ หนึ่งในสนามแม่เหล็ก หน่วยความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก B ใช้หน่วยSIเป็นเทสล่า [T], หน่วย cgs เป็นเกาส์ [G]
เส้นโค้งฮิสเตอร์เรซิส
(Hysteresis curve)
- - เป็นกลุ่มข้อมูลหรือกราฟของรูปทรงที่ไม่เป็นเส้นแสดงการกระจายตัวและแนวโน้มแรงแม่เหล็ก เราเรียกเส้นโค้งซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสนามแม่เหล็กที่ส่วนภายนอก (H) และแรงดูดของวัสดุ (J) หรือความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก (B) ที่เกิดขึ้นกับวัสดุหนึ่งว่าเป็นเส้นโค้งฮิสเตอร์เรซิส (เส้นโค้งแรงแม่เหล็ก) บนเส้นโค้งฮิสเตอร์เรซิสจะมีเส้นโค้งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแรงแม่เหล็กของวัสดุกับสนามแม่เหล็ก (เส้นโค้ง J-H) และเส้นโค้งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็กกับสนามแม่เหล็ก (เส้นโค้ง B-H) สำหรับกราฟเส้นโค้งฮิสเตอร์เรซิสนั้น โดยเฉพาะควอดแรนท์ที่ 2 เรียกว่าเส้นโค้งแสดงการผลักดันพลังแม่เหล็ก เป็นเส้นโค้งสำคัญแสดงคุณสมบัติพิเศษเฉพาะทางวัสดุของแม่เหล็ก
พื้นที่ Maximum
energy product
Bhmax J/m3
(GOe)
เป็นค่าพิเศษเฉพาะค่าหนึ่งซึ่งใช้แสดงความแรงของแม่เหล็ก ในเส้นโค้งแสดงการผลักดันพลังแม่เหล็ก เราเรียกพื้นที่สี่เหลี่ยม (BXH) ที่ตัดเป็นมุมระหว่างจุดทำงานของเส้นโค้ง(BXH) B-H กับจุดตั้งต้นว่าเป็นพื้นที่พลังงาน ซึ่งเรียกค่าสูงสุดนี้ว่าพื้นที่ Maximum energy product
ความหนาแน่น
ฟลักซ์แม่เหล็กคงค้าง
Br T (G) ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็กที่จุดตัดกับแกนตั้งของเส้นโค้งแสดงการผลักดันพลังแม่เหล็ก วางวัสดุหนึ่งในสนามแม่เหล็กจนอิ่มตัวแล้ว แสดงถึงวัสดุจะรักษาความหนาแน่น ฟลักซ์แม่เหล็กนั้นแม้ว่าสนามแม่เหล็กจะเป็นศูนย์แล้วก็ตาม ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็กคงค้าง (Br) จะเป็นไปตามวัสดุ โดยมีค่าพิเศษเฉพาะซึ่งแสดงถึงความแรงของแรงดูดตามคุณสมบัติของวัสดุ
ความหนาแน่น
ฟลักซ์แม่เหล็กที่ผิวสัมผัส
Bg T (G) หมายถึง ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็กที่ผิวสัมผัสที่ขั้วของแม่เหล็ก สำหรับการวัดค่าจริงนั้นจะได้ค่าซึ่งห่างออกมาจากผิวสัมผัสเล็กน้อยเพื่อความสะดวกในการวัดค่าโดยใช้เครื่องมือวัด ค่าที่ได้จะเปลี่ยนแปลงตามรูปทรงของแม่เหล็ก มีบางจุดที่การกำหนดจุดวัดทำได้ยาก ซึ่งหากเปรียบเทียบกันระหว่างแม่เหล็กแล้วถือว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ
แรงบังคับ
(Coercive Force)
Hcb (bHc)
Hc (j iHc)
A/m (Oe) แสดงถึงจุดตัดกับแกนนอนของเส้นโค้งแสดงการผลักดันพลังแม่เหล็ก หลังจากทำให้วัสดุผ่านสนามแม่เหล็กอิ่มตัวในระยะเวลาหนึ่งแล้ว เราเรียกแรงแม่เหล็กภายนอกในเวลาที่เหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กในทางตรงกันข้ามกับทิศทางแม่เหล็กจนแรงแม่เหล็กจะกลายเป็นศูนย์ว่าเป็นแรงบังคับ แสดงจุดตัดของเส้นโค้ง J-H กับแกนนอนด้วย Hc (j หรือ iHc) จุดตัดของเส้นโค้ง B-H กับแกนนอนด้วย Hcb (หรือ bHc) แรงบังคับมีความหมายตามตัวอักษรคือความแรงซึ่งรักษาแรงแม่เหล็กให้คงอยู่ เป็นค่าพิเศษเฉพาะมีความสำคัญในการแสดงคุณสมบัติพิเศษของวัสดุในเรื่องความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็กคงค้าง (Residual magnetic flux density) วัสดุที่มีค่าแรงบังคับน้อยแม้ว่าจะมีความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็กคงค้างมากก็ตาม จะมีสภาพเป็นไปตามรูปทรงและอุณหภูมิ จำเป็นต้องระวังในการออกแบบ
ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่าน
(Permeance coefficient)
Pc ไม่มีมิติ เป็นพารามิเตอร์ที่ใช้กำหนดพฤติกรรมของแม่เหล็ก เป็นไปตามรูปทรง แม่เหล็กทำให้เกิดสนามแม่เหล็กที่ส่วนภายนอก พร้อมกับทำให้เกิดสนามแม่เหล็กในทิศทางตรงข้ามที่ส่วนภายใน (สนามแม่เหล็กที่ผลักดันพลังแม่เหล็ก) สนามแม่เหล็กที่ผลักดันพลังแม่เหล็กจะแตกต่างกันตามรูปทรงซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้แม่เหล็กมีแรงอ่อนลง ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่าน หมายถึง ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก (magnetic flux density) ต่อสภาพการต้านสนามแม่เหล็ก ซึ่งระยะ (ความหนา) ของทิศทางที่เป็นแม่เหล็กน้อยลง (บางลง) เทียบกับผิวสัมผัสที่ขั้วจะมีแนวโน้มที่สนามแม่เหล็กที่ผลักดันพลังแม่เหล็กจะมากขึ้น ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านน้อย แรงดูดจะอ่อนลง
อุณหภูมิคูรี
(Curie temperature)
- K, ℃ เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นจนโครงสร้างผลึกเปลี่ยนไปทั้งหมด แม่เหล็กจะสูญเสียแรงดูดทั้งหมด เราเรียกอุณหภูมิ ณ เวลานี้ว่าอุณหภูมิคูรี (Curie temperature) หรือจุดคูรี แม่เหล็กซึ่งเคยผ่านอุณหภูมิคูรีแล้วจะไม่สามารถมีแรงดูดได้อีกแม้ว่าจะกลับสู่อุณหภูมิปกติแล้วก็ตาม
    • (Tel./Line ID : 062-597-8705)
  • CONTACT
    SIMOTEC (THAILAND) CO., LTD.

    Address
    304 Industrial Park, 206 Moo 7
    Thatoom Srimahaphote
    Prachinburi 25140 Thailand

    TEL
    037-218-808 / 037-480-268

    E-MAIL
    create@simotecthailand.co.th
    yamada@simotec.co.jp (GM)

    เรามีความภูมิใจในแม่เหล็กของเรา
    และกระดานไวท์บอร์ดแม่เหล็ก
    หากต้องการติดต่อสอบถาม
    เกี่ยวกับสินค้า กรุณาติดต่อเรา